วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การขอทำบัตรประจำตัวประชาชน

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน คือ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นพลเมืองไทย โดยจะต้องเป็นบุคคลผู้มีนสัญชาติไทย มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปี ต้องยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการกิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขตที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ มีรายละเอียดดังนี้

วิธีการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ขอต้องยื่นคำขอ พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ตามระเบียบที่กรมการปกครองกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในเวลา 90 วัน นับแต่
1. วันที่มีอายุครอบ 15 ปีบริบูรณ์ 
2. วันที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฏหมายว่าด้วยสัญชาติ 
3. วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน 
4. วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
  
หลักฐานที่ต้องนำไปในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่
1. สูติบัตร หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ 
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
3. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ทั้งของตนเอง และของบิดามารดา 
4. ใบสำคัญประจำคนต่างด้าวของบิดา มารดา หากถึงแก่กรรมให้นำใบมรณบัตรมาแสดง 
5. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำ


การขอมีบัตรในกรณีไม่ได้ทำบัตรตามกำหนดระยะเวลามาก่อน หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้ 
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
2. นำพยานบุคคล เช่น บิดา มารดา เจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ ไปให้คำรับรอง 
3. หลักฐานอื่นๆ เช่น สูติบัตร หรือหลักฐานการศึกษา หนังสือสำคัญการเปลี่ยนตัว ชื่อตัว ชื่อสกุล ทั้งของตนเอง และของบิดามารดา (ถ้ามี) ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี) ใบสำคัญประจำคนต่างด้าว หากถึงแก่กรรมให้นำใบมรณบัตรมาแสดง 
4. เปรียบเทียบปรับไม่เกิน 200 บาท 
5. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำบัตร

การขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่
การขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น ทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 
1. บัตรเก่าหมดอายุ 
2. บัตรเก่าสูญหายหรือถูกทำลาย 
3. บัตรเก่าชำรุดในสาระที่สำคัญ เช่น รูปถ่ายเจ้าของบัตรฉีกขาดจนไม่เห็นเค้าหน้าของเจ้าของบัตร เป็นต้น 
4. มีการแก้ไขชื่อตัว หรือชื่อสกุล หรือทั้งชื่อตัวและชื่อสกุล ในทะเบียนบ้าน 

การขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ทำได้ในกรณีต่อไปนี้  
1. บัตรเก่าหมดอายุ 
2. บัตรเก่าสูญหายหรือถูกทำลาย 
3. บัตรเก่าชำรุดในสาระที่สำคัญ เช่น รูปถ่ายเจ้าของบัตรฉีกขาดจนไม่เห็นเค้าหน้าของเจ้าของบัตร เป็นต้น 
4. มีการแก้ไขชื่อตัว หรือชื่อสกุล หรือทั้งชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน 

การขอเปลี่ยนบัตรใหม่ เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ  
บัตรประจำตัวประชาชนจะมีอายุใช้ได้คราวละ 6 ปี นับแต่วันที่ออกบัตร เมื่อบัตรหมดอายุ ผู้ถือบัตรนั้นต้องไปยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง มีดังนี้  
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.  บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ 
3. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำ 

การขอมีบัตรใหม่ในกรณีบัตรเดิมสูญหาย หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้  
1. ใบแจ้งความบัตรหาย 
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
3. หลักฐานเอกสารซึ่งมีรูปถ่ายของผู้มีบัตรและเป็นเอกสารซึ่งทางราชการออกให้ 
4. เสียค่าธรรมเนียมในการทำ 10 บาท 

การขอเปลี่ยนบัตรเนื่องจากเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้าน หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้  
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
2. บัตรประจำตัวประชาชนบัตรเก่า 
3. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนแปลง เช่น หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า 
4. เสียค่าธรรมเนียมในการทำ 10 บาท 

ความผิดและโทษของผู้ฝ่าฝืน ไม่ทำตามกฏหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน 
1. ไม่ขอมีบัตรภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 
2. บัตรหมดอายุ บัตรหาย บัตรถูกทำลาย เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ไม่ยื่นขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท 
3. ไม่ส่งมอบบัตรคืนให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน หลังจากเสียสัญชาติไทย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
4. ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือแสดงหลักฐานเป็นเท็จเพื่อขอมีบัตร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือใช้บัตรซึ่งตนหมดสิทธิ์ใช้เมื่อเสียสัญชาติไทยแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท 
5. เอาบัตรของผู้อื่นไป หรือยึดบัตรของผู้อื่น หรือใบรับรอง หรือใบแทนรับรองของผู้อื่น เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 
6. ไม่อาจแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับบัตรประจำตัวประชาชนของตน เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท 

ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่
1. พระภิกษุ สามเณร
2. ข้าราชการ
3. นักโทษ

1 ความคิดเห็น:

  1. สนใจหาซื้อโปรแกรม Visitor management system ที่ใช้อ่านบัตร smart card ได้ที่ 038-029-432

    SURE VMS

    "SURE VISIT แค่คิดก็ปลอดภัย"
    SURE SUCCESS SOLUTON CO.,LTD.
    http://www.axsuccess.com

    ตอบลบ