วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รู้จักกับบัตรสมาร์ทคาร์ดแบบไร้สัมผัส (Contactless Smart Card)

สมาร์ทคาร์ดแบบไร้สัมผัส หรือที่เรียกง่ายๆ ว่าสมาร์ทคาร์ดแบบแตะ (Contactless Smart Card) ซึ่งเป็นบัตรที่มองดูรูปร่างภายนอกแล้ว คล้ายกับบัตรเครดิตพลาสติกแบบหนึ่ง ที่ภายในนั้นมีการผนึกชิปคอมพิวเตอร์ และขดลวดสายอากาศไว้ภายใน ซึ่งอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สามารถติดต่อกับเครื่องอ่านบัตรที่รับส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุได้ในระยะที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นระยะที่ใกล้ชิด (Proximity Card) หรือระยะที่ใกล้เคียง (Vicinity Card) แล้วแต่มาตรฐานของบัตร โดยไม่จำเป็นต้องให้บัตรสัมผัสกับเครื่องอ่านดังกล่าว
          
โดยทั่วไปมักจะใช้บัตรแบบนี้เมื่อต้องมีการดำเนินการทางด้านรายการ (Transactions) อย่างรวดเร็ว เช่น การจัดเก็บเงินค่าผ่านทางด่วน บัตรพนักงานเพื่อใช้ผ่านเข้า-ออก ประตูของบริษัท บัตรโดยสารของรถไฟฟ้า บีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน และบัตรชำระเงินย่อย เช่นบัตร Smart Purse เป็นต้น

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บัตรสมาร์ทคาร์ดคืออะไร


บัตรสมาร์ทคาร์ด (Smart Card) คือ บัตรอิเลคทรอนิคส์ ที่ใช้ทำงานหลายๆ อย่าง ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เช่น บัตรประจำตัวประชาชนที่เป็น สมาร์ทคาร์ด (Smart Card) คือ บัตรที่เก็บข้อมูลต่างๆ ของตัวเจ้าของบัตรไว้ โดยสามารถทราบหรือค้นหาข้อมูลต่างๆ ของเจ้าของบัตรนั้นๆ ได้จากบัตร

บัตรสมาร์ทคาร์ด (Smart  Card)  หรือบางทีก็เรียกว่า "Chip card"  เพราะเป็นบัตรที่มีชิพ IC  (Integrated Circuit) ติดฝังอยู่ในตัวบัตรพลาสติกตามมาตรฐาน ISO เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล และประมวลผลภายในตัวเอง และมีระดับความปลอดภัยสูงในการอ่านเขียน หรืออัพเดตข้อมูล ประกอบด้วย บัตรพลาสติก กาวหรือวัสดุที่ใช้เชื่อมต่อ และหน้าสัมผัสที่บรรจุชิพ สามารถส่งกระแสไฟฟ้า และสัญญาณไฟฟ้า ผ่านทางหน้าสัมผัส ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 8 ส่วน ไปยังตัวชิพ

ชิพนี้มีโครงสร้างและหลักการทำงานเหมือนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กตัวหนึ่ง คือ

  • CPU :  ที่สามารถประมวลผลข้อมูลด้วยตัวเอง
  • RAM : ทำหน้าที่เก็บข้อมูลระหว่างการทำงาน                       
  • ROM : บรรจุระบบจัดการ (OS) และโปรแกรมพื้นฐาน
  • EEPROM : บรรจุข้อมูลส่วนตัว และโปรแกรมต่างๆ ทำให้สามารถเพิ่มฟังก์ชันในการใช้งานได้ในภายหลัง




วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บัตรประชาชนสำหรับเด็ก


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัตรประชาชนเด็ก

1. ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดอายุของบุคคลสัญชาติไทย ที่จะต้องมีบัตร คือ ให้ผู้มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ จะต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน (กรณีผู้มีอายุระหว่าง 7 ปีบริบูรณ์จนถึงก่อนครบ 15 ปีบริบูรณ์ ให้ยื่นขอมีบัตรภายใน 1 ปี นับจากวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 หรือหากมีความจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะขอขยายเวลาออกไปได้)

ความหมายของเลขประจำตัว 13 หลัก (เลขบัตรประจำตัวประชาชน)

ในอดีตการทุจริตปลอมแปลงเอกสารทางการทะเบียน เกิดขึ้นได้โดยที่การตรวจสอบทำได้ลำบาก หรือค่อนข้างล่าช้า โดยเฉพาะการทุจริตปลอมแปลง ที่เกิดขึ้นจากบุคคลเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือบุคคลต่างด้าวที่มีพฤติกรรมเป็นภัยต่อประเทศชาติ ซึ่งพยายามทุกวิถีทางโดยวิธีการต่างๆ เพื่อให้กลายสภาพเป็นคนมีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือกลายเป็นคนไทย มีสิทธิต่างๆ เช่นเดียวกับคนไทย ซึ่งปัญหานี้เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง

จากปัญหาข้างต้น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จึงได้ริเริ่มจัดทำ “โครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน” โดยนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ซึ่งมีหลักการในการจัดตั้งดังนี้